ความเดิมจากภาคแรกที่บทความนี้กล่าวถึงข้อผิดพลาดที่สามารถพบเจอในเว็บอีคอมเมิร์ซที่ยังไม่ประสบความสำเร็จหรือยังไปไม่ถึงฝั่งฝันกัน โดยรวมแล้วมีทั้งหมดมี 36 ข้อ ซึ่งในภาคแรกได้เล่าถึงความสำคัญของการเลือก platform และการจัดองค์ประกอบของหน้าแรกของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซกันไปแล้ว (คลิกอ่านบทความก่อนหน้าได้ที่นี่)
ในภาคนี้เราจะมาต่อกันในเรื่องของการออกแบบและให้ข้อมูลในหน้าแบ่งหมวดหมู่สินค้าและองค์ประกอบที่ไม่ควรมองข้ามในหน้ารายละเอียดสินค้ากัน
ย้อนกลับไปดูข้อผิดพลาดฯ ข้อที่ 1-9
เมื่อใดที่คุณมีสินค้าหลายประเภทขายบนเว็บ eCommerce ของคุณ คุณก็จำเป็นจะต้องมีหน้าสำหรับการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าอย่างเหมาะสมและลงตัวด้วย (ลองคิดดูว่ามันจะหาของยากขนาดไหน ถ้าเกิดว่าเว็บของคุณมีแต่หน้ารวม Product ที่รวมรายการสินค้าทุก ๆ อย่างไว้ในหน้าเดียวกันทั้งหมด)
Kevin Strawbridge จาก Square L Group ให้ความเห็นว่า:
หนึ่งในความผิดพลาดที่สำคัญที่บรรดาเว็บ eCommerce มักทำ คือ ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญและไม่สามารถแบ่งหมวดหมู่ของบรรดาสินค้าที่มีอยู่อย่างเป็นระเบียบได้ รวมไปถึงการที่ขาดการจัดการข้อมูลที่ดีด้วยผมจะลงรายละเอียดให้ดูในส่วนถัด ๆ ไปว่า หน้าสำหรับการแบ่งหมวดหมู่สินค้านั้นสำคัญเพียงใด มันไม่เพียงแค่ทำให้คุณจัดการและนำเสนอสินค้าต่าง ๆ ของคุณได้อย่างง่ายดายเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างโอกาสให้คุณได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเพิ่มการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของคุณอีกด้วย
เวลาที่คุณจัดกลุ่มสินค้าเข้าตามหมวดหมู่ คุณจำเป็นต้องจัดในแบบที่สามารถทำให้คนที่มาใช้งานเข้าใจได้ง่าย ๆ (อย่างที่ผมบอกว่าจุดประสงค์ของการมีหน้าสำหรับการแบ่งหมวดหมู่สินค้าคือทำให้คนที่เข้ามาและหาสินค้าที่ต้องการเจอได้โดยเร็วที่สุด)
Concept เดียวกัน เหมือนกันกับการจัดหน้า homepage เลย, ในหน้าแบ่งหมวดหมู่สินค้าของคุณก็ต้องดึงดูดเสมอและจะสร้างความสนใจกับคนที่เข้ามาชมด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้คนที่เข้ามาชมสินค้าของคุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายและรวดเร็ว
สิ่งสำคัญ คือ หน้าแบ่งหมวดหมู่ของคุณ ไม่ควรแค่มีไว้แค่แบ่งหมวดหมู่เท่านั้น แต่มันควรจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ของคุณไปด้วย
คงไม่ต้องพูดอะไรมาก เนื่องจากเราได้พูดเรื่องนี้ไปแล้วในเนื้อหาของการออกแบบหน้า homepage ย้ำอีกครั้งว่าควรใช้ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง ข้อความ รูปภาพ และสื่ออื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความคาดหวังของคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณเสมอ
จากสถิติระบุว่า จำนวนเนื้อหามักแปรผันตามการใช้งานสินค้าของคุณ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าของคุณอาจจะต้องการเห็นวิธีการใช้งานของสินค้าว่า “มีขั้นตอนวิธีการใช้งานเป็นอย่างไร” ก่อนที่เค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้า ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว คุณก็จะต้องใส่วีดีโอการใช้งานเข้าไปในหน้านั้นด้วย
มีความเป็นไปได้สูงที่ว่าตอนที่คุณเห็นตัวอย่างของ RevZilla ข้างบนแล้วคุณจะคิดว่า “นั้นมันเยอะไปรึเปล่า” เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ทำผิดพลาดเรื่องนี้ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เนื้อหารายละเอียดที่ลงลึกเกินไปสำหรับการจัดหน้าหมวดหมู่สินค้า
คุณควรจะใช้หน้าแบ่งหมวดหมู่นี้ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าที่แสดงอยู่ข้างในหมวดหมู่นี้ แต่คุณก็ไม่ควรที่จะใส่ข้อมูลเยอะถึงขั้นที่อาจทำให้คนเข้ามาเว็บเบื่อตายไปก่อน และแน่นอนว่าก็ไม่ควรที่จะจัดเนื้อหาเพื่อนำเสนอแบบ "ยัดเยียด" จนทำให้คนอ่านรำคาญเช่นเดียวกัน
ย้ำอีกครั้ง, หน้าแบ่งหมวดหมู่ของคุณควรที่จะ:
ข้อนี้เป็นเรื่องใหญ่เลย
เนื่องจากว่าลูกค้าของคุณไม่สามารถจะมาจับหรือลองเล่นสินค้าของคุณได้ก่อนที่เค้าจะตัดสินใจซื้อ มันเป็นหน้าที่ของคุณที่จะอธิบายกับลูกค้าว่าที่ลูกค้ากำลังจะซื้อ “มันคืออะไร มันใช้งานอย่างไร”
ที่นี้ก็ขึ้นอยู่ว่าใครเป็นคนที่อ่าน คำอธิบายสินค้าของคุณควรจะโฟกัสในส่วนของฟังก์ชั่นหลักและข้อมูลรายละเอียดของตัวสินค้า หรือว่าประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับนั้นคืออะไร
แต่ว่า ทำไมถึงไม่ทำทั้งสองอย่าง?
เหมือนอย่างของ Fascino ถ้าลองอ่านคำอธิบาย ไม่ว่าใครก็พอจะเข้าใจและรู้สึกได้ว่า ถ้าหากซื้อเตียงลมตัวนี้ไปแล้วจะใช้งานอะไรได้บ้าง นั้นคือ สิ่งที่ หน้ารายละเอียดสินค้าของคุณควรจะทำ
เแน่นอนว่าสิ่งที่จำเป็นต้องมีคู่กับคำอธิบายสินค้าและรายละเอียดของสินค้าซึ่งจะขาดไปไม่ได้เลย คือ รูปภาพของสินค้า ซึ่งคุณควรระลึกไว้เสมอว่า “หน้าตาคือหน้าต่างของหัวใจ” หากคุณต้องการเปิดใจของลูกค้าผู้มาเยือนในเว็บไซต์ของคุณ การนำเสนอสินค้าด้วยรูปภาพที่มีคุณภาพสูงทั้งเรื่องความสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจนสามารถเห็นถึงรายละเอียดสำคัญ ๆ ของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าบางรายการคุณอาจจะต้องลงรูปภาพทุกมุมของสินค้า หรือ เห็นถึงบรรยากาศในการใช้งานสินค้า เป็นต้น ภาพคุณภาพสูงเหล่านี่แหละจะช่วยแง้มหัวใจของลูกค้าให้ตกหลุมรักในสินค้าของคุณได้อย่างง่ายดาย
James Winter จาก AspireIQ (ชื่อเก่า Revfluence) ได้กล่าวไว้ว่า :
เมื่อคนเราซื้อของออนไลน์ เรื่องท้าทายอย่างนึง คือ การต้องมานึกว่าในสถานการณ์จริงสินค้านั้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งหลาย ๆ แบรนด์ก็มักจะลำบากในการแสดงให้ลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้า รับรู้ถึงจุดนั้นด้วยJames Winter ได้พูดต่ออีกว่า :
การทำให้ลูกค้านึกภาพตอนใช้งานสินค้าไม่ออกทำให้ “สินค้าไม่มีชีวิตชีวา” ในสายตาของลูกค้า (ซึ่งพวกเขาไม่สามารถจับต้องสินค้าได้จนกว่าเขาจะจ่ายเงินเพื่อซื้อไปใช้แล้ว)โดยปกติแล้ว คุณจำเป็นต้องใส่สิ่งเหล่านี้ลงไปในหน้าแสดงสินค้าของคุณด้วย
รูปถ่ายสตูดิโอ อย่างเช่นของเว็บ Tivoli Audio
ภาพเหมือนสินค้าเหล่านั้นถูกจัดวางเข้าเซ็ตและกำลังถูกใช้งานอย่างเช่นภาพนี้ และถ้าจำเป็น / หรือเป็นไปได้ คุณอาจจะใส่ภาพ 360 องศา หรือวิดีโอเข้าไปจะยิ่งเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้ามากขึ้นอีก หรืออย่างที่ James Winter แนะนำ คุณอาจจะไปเน้นที่ Content ที่มี Influencer เป็นคนสร้าง เพื่อให้ลูกค้าของคุณเห็นว่า โดยปกติผู้ใช้อื่นจะนำสินค้าของคุณไปใช้อย่างไร อย่างเช่นเว็บ Article
และแน่นอน อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของคุณ คือ การทำยังไงก็ได้ให้สินค้าของคุณดูมีชีวิตชีวา “ก่อน” ที่ลูกค้าจะควักเงินในกระเป๋า เพราะไม่เช่นนั้น การนำเสนอข้อมูลที่ไม่เพียงพอให้เกิดความเข้าใจในตัวสินค้ามักจะทำให้ลูกค้าจะไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นเลยก็ได้
อย่างที่ทุกคนทราบดี คำยืนยันจากผู้ใช้รายอื่น ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์อย่างเช่น การรีวิวสินค้า, คำให้สัมภาษณ์ หรือการแนะนำต่อนั้น เป็นปัจจัยหลักในการที่จะขับเคลื่อนในด้านของการเพิ่มยอดขายสินค้า
แล้วจะมีหน้าเว็บส่วนไหนที่จะใส่คำยืนยันเหล่านี้ได้ดีที่สุด นอกจากหน้าสินค้าของคุณละ
ถึงตรงจุดนี้เราได้เห็นวิธีการจัดวางคำยืนยันจากลูกค้าในเว็บ eCommerce ที่มีขนาดค่อนข้างเล็กกันไปแล้ว งั้นเราลองดูเว็บร้านขายของขนาดใหญ่อย่าง Lazada กันบ้างดีกว่า
พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งมีรีวิวไปในทางบวกมากเท่าไร ก็ยิ่งดีกับสินค้าชิ้นนั้นมากเท่านั้น แต่ต้องไม่ลืมว่ารีวิวต่าง ๆ นั้น ต้องดูจริงและเชื่อถือได้ต่อคนที่จะเข้ามาอ่านด้วย วิธีที่ง่ายที่สุดก็ คือ การใส่ตำแหน่งพิเศษ เช่น Verified Buyer เหมือนอย่างของ Lazada เป็นต้น
หน้าที่ของบริษัท eCommerce ไม่ใช่แค่วางขายสินค้าจำนวนหนึ่ง เมื่อขายได้แล้วก็จบ แต่คุณจะต้องให้บริการอย่างเช่น การขนส่ง, การคืนสินค้า และงานบริการลูกค้า ด้วย
แน่นอนว่าในบางครั้งลูกค้าของคุณอาจจะลืมที่จะคิดถึงตรงจุดนี้ในระหว่างที่เขากำลังดูสินค้า และถึงแม้ว่าพวกเขาจะ “คาดหวัง” ไว้แล้วว่า การบริการเหล่านี้มีอยู่แล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยเตือนลูกค้าให้นึกถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย
ลองดู Leesa เป็นตัวอย่าง
แทนที่จะไม่แสดงเกี่ยวกับเวลาในการจัดส่ง และนำตัวเลือกในการจ่ายเงินไปวางไว้อีกหน้า Leesa แสดงข้อมูลทั้งหมดที่ลูกค้าควรทราบไว้ในหน้าสินค้าเลย ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอ ก่อนที่ข้ามไปยังขั้นตอนการชำระเงิน
งานบริการอีกอย่างที่คุณควรจะใส่รวมไว้ในหน้าสินค้าด้วยก็คือในเรื่อง “การคืนสินค้า” เรื่องนี้สามารถที่จะทำให้ลูกค้าที่ยังไม่มั่นใจในตัวสินค้า กลับกล้าที่จะซื้อสินค้าได้เลย เพราะรู้อยู่แล้วว่า ถ้าหากสินค้าไม่เป็นไปตามคำโฆษณาหรือชำรุดเสียหาย พวกเขาก็สามารถส่งสินค้าคืนได้
ตอนนี้คนส่วนใหญ่แม้แต่คนที่ไม่ได้ใส่ใจด้านเทคโนโลยี ก็ยังค่อนข้างที่จะตื่นตัวกับเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ปลอดภัยเมื่อต้องอยู่บนโลกออนไลน์
อย่างที่บอกไปในตอนต้นแล้วว่า ประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ทุกวันนี้ผมยังคงเจอเว็บไซต์ขายของหลาย ๆ เว็บที่ “ยังออนไลน์อยู่โดยไม่ผ่าน HTTPS หรืออยู่บนโปรโตคอลแบบเก่าที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล และมีแค่หน้าซื้อขายสุดท้ายเท่านั้นที่เป็น HTTPS” เรื่องนี้แน่นอนว่าจะเป็นหายนะในระยะยาวแน่นอน
ข้อสำคัญก็คือ คุณควรต้องเช็คซ้ำอย่างน้อยอีกซักครั้งว่า คนที่เข้ามาในเว็บของคุณจะรับรู้ได้ไหมว่า ขณะที่พวกเขากำลังใช้งานเว็บของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาจะถูกเว็บไซต์เก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัย ถ้าหากว่าลูกค้าเหล่านั้นไม่ได้เห็นโลโก้พวกนี้อยู่บนเว็บไซต์
แน่นอนว่า หลาย ๆ คนคงจะไม่ยอมให้ข้อมูลอะไรกับเว็บไซต์แน่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลด้านธุรกิจหรือแม้แต่อีเมลก็ตาม หากเว็บไซต์ของคุณนั้นไม่มีความปลอดภัย
เรื่องยังไม่จบแค่นี้นะครับ ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับหน้าแบ่งหมวดหมู่สินค้าและหน้ารายละเอียดสินค้าได้ในภาคที่ 3 หรือกลับไปยังลิสต์ทั้ง 36 ข้อด้านบนเพื่อดูหัวข้อทั้งหมดอีกครั้ง และใช้เป็นทางลัดไปยังข้อผิดพลาดที่ต้องการอ่านได้นะครับ