เมื่อ Web 3.0 คืออินเทอร์เน็ตในยุคต่อไปและดูเหมือนว่าสื่อและบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมายออกมาพูดถึงมันในวงกว้างจนกลายเป็นกระแสขึ้น เราจะมาดูกันว่า Web 3.0 จะเป็นการปฏิวัติอินเทอร์เน็ตครั้งใหม่และนำโลกของเราไปสู่อนาคตของอินเทอร์เน็ตได้อย่างที่ใครหลายคนให้คำจำกัดความไว้หรือไม่ หรือมันจะเป็นเพียงคำพูดตามกระแสที่ใครหลายคนสร้างภาพในอุดมคติขึ้น
บทความนี้เราจะมาตีแผ่ให้ทุกท่านได้รู้จักว่า Web 3.0 นั้นคืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? และเราต้องรู้อะไรบ้าง ? เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีในธุรกิจองค์กรของเราให้สอดคล้องกับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้
ก่อนจะรู้ว่า Web 3.0 นั้นคืออะไร ? เราควรเริ่มจากการทำความเข้าใจกับ Web 1.0 และ Web 2.0 โดยพอสังเขปกันก่อนWeb 1.0 คือวิวัฒนาการในระยะแรกของของเว็บไซต์ ในยุคนั้นจะมีผู้สร้างเนื้อหาใน Web 1.0 เพียงไม่กี่รายเท่านั้น แต่กลับมีผู้ใช้จำนวนมหาศาล เป็นเรื่องปกติเลยก็ว่าได้ที่เว็บไซต์ในตอนนั้นจะเป็นแบบ เว็บที่สามารถตอนสนองได้ทางเดียวคือมีไว้ให้แค่อ่านหรือดูได้อย่างเดียวเท่านั้น (static page) โดยเจ้าของเว็บไซต์จะต้องไปเช่าเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อเก็บข้อมูลกับบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต - ISP หรือเว็บโฮสติ้ง
จุดเด่นของอินเทอร์เน็ตยุค Web 1.0
จะเน้นที่การสื่อสารข้อมูลกันในระดับองค์กรธุรกิจ และผู้ใช้เนื้อหาเป็นเพียงผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอ่านจากหน้าเว็บไซต์ของผู้ให้บริการเช่น Yahoo และ Googleจากการที่ Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ที่ตอบสนองได้ทางเดียว และการที่เจ้าของเว็บไม่สามารถสื่อสารโต้ตอบกับผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้เลย ปัญหาด้านการสื่อสารนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีจนนำไปสู่ Web 2.0
Web 2.0 นี้นอกจากทีคุณสมบัติในการแสดงเนื้อหาที่ติดตัวมาจาก Web 1.0 แล้ว ยังถูก เพิ่มความสามารถในการโต้ตอบกันระหว่างผู้สร้างเนื้อหาและผู้ใช้เนื้อหาได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างเนื้อหาร่วมกัน ที่ผู้ใช้เนื้อหาสามารถเป็นได้ทั้งผู้อ่านและผู้สร้างเนื้อหาเพื่อสื่อสารระหว่างกันเองภายในระบบของเว็บไซต์ จนเกิดเป็นชุมชนบนเว็บไซต์ ในยุคแรก ๆ ถูกเรียกว่า เว็บบอร์ด, เว็บ community ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ Pantip แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาและเกิดแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เรียกว่าสื่อโซเชียล เช่น Facebook, Youtube ทำให้ข้อมูลเนื้อหาใหม่ ๆ ถูกสร้างและส่งต่อถึงกันบนเครือข่ายโซเชียลอย่างมากมาย แต่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มกลับกลายมาเป็นคนกลางผู้มีอำนาจในการควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาที่เหนือกว่าผู้สร้างเนื้อหาที่เป็นเพียงผู้ใช้แพลตฟอร์ม ซึ่งคนกลางที่ว่านี้ตั้งกฎให้เป็นตนเองเจ้าของข้อมูลทั้งหมดในแพลตฟอร์ม สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เราสื่อสารกันได้ทั้งหมด และยังเก็บบันทึกพฤติกรรมการใช้งานของทุกคน รวมถึงนำข้อมูลความเป็นส่วนบุคคลของเราไปขายให้บริษัทโฆษณาหรือพรรคการเมือง เพื่อวิเคราะห์และยัดเยียดแคมเปญโฆษณาให้ตรงกับความต้องการของเราอีกด้วย ทำให้ข้อมูลที่สื่อสารกันบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นไม่มีความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป
จึงนำไปสู่แนวคิดที่ว่า อินเทอร์เน็ตในยุคถัดไปต้องไม่มีตัวกลาง (Decentralized) หรืออย่างน้อยที่สุดจะต้องลดบทบาทของตัวกลางลงให้ได้ และมีความโปร่งใสในการบริหารข้อมูลมากขึ้น สู่แนวคิดที่เรียกว่า Web 3.0
Web 3.0 เป็นบริการอินเทอร์เน็ตรุ่นที่สามที่จะมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดหาเว็บเชิงความหมาย “Semantic web” เป้าหมายคือการสร้างเว็บไซต์ที่ชาญฉลาด เชื่อมต่อ เปิดกว้าง และเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น
ณ วันนี้พวกเราทุกคนกำลังเดินอยู่บนเส้นทางไปสู่ระบบที่ไม่มีใครรู้จัก แต่ถ้าเราวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเว็บทั้ง 2 เวอร์ชันที่ผ่านมา เราอาจจะพอคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงจาก Web 2.0 สู่ Web 3.0 อาจใช้เวลาราว 10 ปี แต่ด้วยการพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับ Web 3.0 ไม่ว่าจะเป็น blockchain หรือ AI (Artificial Intelligent) จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ว่าจะใช้เวลาที่สั้นกว่าในยุคจาก 1.0 มาเป็น 2.0 ซึ่งคาดว่ากระบวนการนี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการสร้างเว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการที่ผู้คนโต้ตอบกับเว็บไซต์ไปอย่างสิ้นเชิง
Blockchain เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลักในการขับเคลื่อนไปสู่ Web 3.0 เทคโนโลยี blockchain ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อต้องการทำให้อินเทอร์เน็ตมีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ทุกคนมีอิสระเสรี เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทุกคนจะสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและสามารถควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลได้เองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และข้อมูลจะถูกกระจายเก็บไว้ในอุปกรณ์ IoT ของทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา Cloud หรือพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทผู้ให้บริการอีกต่อไป Web 3.0 คือแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความกังวลใจเกี่ยวกับการที่ข้อมูลและเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตถูกรวมศูนย์ไว้ในบริษัท Big Tech เพียงไม่กี่แห่งนั่นเอง
Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบในการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ blockchain นั้นจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หรือทำได้ยากมาก ๆ จึงทำให้ blockchain นั้น ช่วยเรื่องความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล
Cryptocurrencies คือสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกเข้ารหัสเพื่อใช้ในการป้องกันและยืนยันการทำธุรกรรมผ่าน blockchain เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน จึงมีการคาดการณ์ไว้ว่า cryptocurrencies ที่ใช้เทคโนโลยี blockchain และทำงานร่วมกับสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตในยุค Web 3.0 แต่อย่างไรก็ดี cryptocurrencies ก็ยังคงถูกมองว่าอาจเป็นเพียงวิธีการสะสมแต้มหรือการให้รางวัล (Reward point) แก่ผู้ใช้บริการข้อมูลอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
จากความสามารถด้านการสร้าง smart contract บน blockchain ของ Ethereum นี่เอง ปัจจุบันเริ่มมีความพยายามในการสร้างแอพพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ หรือ DApps (Decentralized Application) และบริการด้านการเงินอย่าง DeFi (Decentralized Finance) ขึ้นบ้างแล้ว ซึ่ง DApps เป็นแอพพลิเคชันที่มีความคล้ายกันกับแอพพลิเคชันทั่วไป แต่จะมีสิ่งที่ต่างกันตรงที่แอพพลิเคชันทั่วไปนั้นมีรูปแบบเป็น Centralized ที่ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์เพียงที่เดียว ทำให้อาจเกิดปัญหา single point of failure ได้ แต่ DApps มีรูปแบบเป็น Decentralized ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บและเข้ารหัสไว้ใน blockchain แบบกระจายศูนย์และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้ ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลของตนเองได้ ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นและอยู่ใน blockchain นั้น จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือไม่สามารถทำได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญของ Web 3.0 คือ การนำเอา AI หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในกระบวนคิดของระบบอินเทอร์เน็ต โดย AI จะจำลองรูปแบบและวิธีที่มนุษย์ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งกระบวนการของ AI นี้จะทำให้ Web 3.0 สามารถคาดการณ์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนจะส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
เมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงอนาคต metaverse น่าจะเป็นคำแรกที่เข้ามาในหัวเลย อินเทอร์เน็ตเวอร์ชันใหม่นี้สามารถรวมเข้ากับจักรวาลเสมือนจริงได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้การออกแบบเว็บไซต์จะเป็นแบบ 3 มิติ โดยมีอุปกรณ์ IoT เป็นส่วนของการสั่งการและรับ-ส่งข้อมูลจากผู้ใช้ไปยัง metaverse และแน่นอนว่า Web 3.0 จะกลายเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้จักรวาลเสมือน metaverse เกิดขึ้นจริงได้ ข้อมูลและเทคโนโลยีใน Web 3.0 มีความสัมพันธ์กับการสร้างกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน metaverseและมีส่วนช่วยในการสร้างระบบนิเวศของจักรวาลเสมือนให้เชื่อมต่อกันอย่างลื่นไหลอีกด้วย
ใน Web 3.0 นี้ เว็บไซต์จะรู้จักผู้ใช้แต่ละรายเป็นอย่างดี เป็นเพราะจากการที่ผู้ใช้แต่ละรายได้ทิ้งร่องรอยในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ไว้จำนวนหลายพันหลายหมื่นรายการ Web 3.0 นี้จึงมีข้อมูลที่มากพอที่จะนำมาวิเคราะห์พร้อมทั้งปรับแต่งผลลัพธ์ของข้อมูลให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละรายนั่นเอง
สิ่งสำคัญสำหรับ การพัฒนา Web 3.0 คือ เทคโนโลยีที่ให้บริการสำหรับการสร้างระบบที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น ด้วยโปรแกรมอัจฉริยะ , ความช่วยเหลือของ AI และเว็บเชิงความหมาย (Semantic web) ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด แม้ Web 3.0 จะมีความชาญฉลาดใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์มากเพียงใด แต่หน้าที่หลักของเทคโนโลยีนี้คือต้องการให้เว็บยังคงดำเนินงานต่อไปได้
Web 3.0 ได้เสนอโปรโตคอลที่ผู้ใช้จะเป็นผู้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นด้วยตนเองและสามารถแชร์ให้กับทรัพยากรต่าง ๆ บน Web 3.0 ให้น้อยที่สุด ซึ่งการที่ข้อมูลไม่ถูกจัดเก็บและควบคุมโดยตัวกลางนี้เอง ทำให้ทุกเว็บไซต์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหากันได้อย่างอิสระนี้ ตัวตนของเราใน Web 3.0 จึงเป็นตัวตนแบบกระจายศูนย์ (decentralized identity : DID) แนวคิดนี้เสนอว่า ผู้ใช้งานหรือธุรกิจองค์กรใดก็สามารถเป็นเจ้าของตัวตนดิจิทัลและบริหารข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยสมบูรณ์ รวมถึงสามารถสั่งการผ่านแอพพลิเคชั่นได้ว่า อยากให้เปิดเผยข้อมูลส่วนใดบ้าง และทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากใคร ข้อมูลแบบกระจายศูนย์หรือไร้ตัวกลางนี้ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหากันได้จนถึงขั้นที่ว่า เราสามารถล็อกอินทุกเว็บไซต์ได้โดยใช้ไอดีและพาสเวิร์ดเดียวที่มีความปลอดภัยสูง
แต่มุมมองนี้จะไปขัดกับกลุ่มบริษัทหรือเครือข่ายโซเชียลที่เป็นผู้นำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้มากที่สุด เพราะกลุ่มบริษัทหรือเครือข่ายโซเชียลต้องการรู้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อค้นหาพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือแม้แต่ความคิดเห็นทางการเมืองของกลุ่มผู้ใช้
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้เป็นรูปแบบที่ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการเผยแพร่เนื้อหา แต่อย่างไรก็ตามนี่ก็ถือว่าเป็นเหมือนดาบสองคม เพราะแม้ว่าจะสามารถช่วยเรื่องการเซ็นเซอร์ข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์ได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะยับยั้งการเผยแพร่ข่าวปลอมและคำพูดหรือการแสดงความคิดเห็นด้านลบได้
Web 3.0 จะทำให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องพึ่งการเชื่อมต่อบนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน แต่อาศัยเซ็นเซอร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ IoT ซึ่งมีทั้งแบบที่ต้องสวมใส่อยู่บนร่างกายของผู้ใช้และในอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวเรา จะทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลเข้าสู่ Web 3.0 ตลอดเวลา
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น Web 3.0 อาจเรียกอีกอย่างว่าเว็บเชิงความหมาย และจุดแตกต่างที่สำคัญกับเว็บเวอร์ชันก่อนหน้าคือการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปที่ช่วยให้อุปกรณ์เข้าใจความหมายของข้อมูลบนเว็บไซต์ อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้คน สร้างประสบการณ์ใหม่ในการท่องเว็บในแบบเฉพาะและเหมาะกับพฤติกรรมของแต่ละคน และกรองเนื้อหาให้ตรงตามความต้องการของแต่ละคนโดยอัตโนมัติ
เพื่อให้เกิดขึ้นได้จริง จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีต่อไปนี้:
การไปถึงมาตรฐาน Web 3.0 อย่างแท้จริงได้ จำเป็นที่จะต้องตัดตัวกลางให้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งครอบคลุมถึงการติดต่อสื่อสารแบบไม่ผ่านตัวกลางใด ๆ เลย แต่อุปสรรคสำคัญเลยคือ เราก็ยังต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่ในการเข้าถึงข้อมูลในแอพพลิเคชันของพวกเขา และต่อให้ข้อมูลทุกอย่างไร้ตัวกลางในการเก็บรักษาและควบคุมแล้ว แต่การที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ก็ยังคงต้องผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมอยู่ดี ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกำกับควบคุมโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศได้ในอนาคต ทำให้ในขณะนี้โลกอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่อาจหลุดพ้นการเป็นเว็บที่ไร้ตัวกลางอย่างแท้จริงอยู่ดี
Siri ของ Apple เป็นแอพพลิเคชั่นยอดนิยมตัวหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเชิงความหมาย ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์จดจำเสียงเพื่อสร้างกระแสในด้านเทคโนโลยี เป็นที่คาดการณ์ว่าซอฟต์แวร์ที่รู้และจำเสียงจะเป็นองค์ประกอบหลักของ Web 3.0 แอพพลิเคชันของ Web 3.0 นี้จะทำให้นักพัฒนาเว็บและผู้ใช้อุปกรณ์ของ Apple บนทุกเครื่องทุกประเภทสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำทุกครั้งที่มีคนถามคำถามผ่าน Siri อินเทอร์เน็ตเชิงความหมายจึงช่วยให้ Siri สามารถให้คำตอบที่สรุปได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วยผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่หลากหลายในการแก้ปัญหาอีกด้วย นอกจาก Siri แล้วยังมี Alexa ของ Amazon กับ Bixby ของ Samsung ที่พยายามสร้างแอพพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทางเสียงที่คล้ายกับ Siri ด้วย
Meta หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ Facebook เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชั้นนำและแอพพลิเคชั่น Web 3.0 มีการเชิญชวนผู้คนมาใช้แพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมใหม่ ๆ บนเว็บ 3.0 นับตั้งแต่เรื่องอื้อฉาว Facebook-Cambridge Analytica นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้พวกเขาชนะ นักพัฒนาเว็บได้สร้างแอปพลิเคชั่นบน Facebook มากกว่า 300,000 แอพเพื่อเพิ่มโอกาสในการโต้ตอบกับลูกค้ารวมถึงการมีส่วนร่วมของลูกค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชันเหล่านี้มีทั้งในรูปแบบเกมไปจนถึงการแจกของขวัญดิจิทัลตามรสนิยมและความชอบของผู้ใช้อีกด้วย